ทิปส์การเงิน

เงินทุนหมุนเวียน เสริมสภาพคล่องทางการเงินให้ธุรกิจ มีเงินสดใช้ไม่ขาดมือ

การวางแผนจัดการเงินทุนหมุนเวียนให้เหมาะสมก่อนลงทุน เป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่เป็นหัวใจของกิจการให้สามารถดำรงอยู่ได้อย่างตลอดรอดฝั่ง หากกล่าวถึงเงินทุนหมุนเวียนประเภทสินเชื่อให้กู้ยืมจากสถาบันการเงินต่าง ๆ นั้น มีตัวเลือกมากมายขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของกิจการ เช่น สินเชื่อเงินกู้เบิกเกินบัญชี สินเชื่อหมุนเวียนส่วนบุคคล หรือเงินสดด่วนประเภทบัตรกดเงินสดที่เป็นทางเลือกช่วยเสริมสภาพคล่องในรูปแบบเงินสดทันใจสำหรับกิจการขนาดเล็กได้เป็นอย่างดี 

บริหารแหล่งที่มาของเงินทุนหมุนเวียน

  • บัตรเครดิต – แหล่งเงินทุนหมุนเวียนที่สะดวกมากที่สุด รูดได้ทันทีถ้าเงินสดไม่เพียงพอ ซึ่งมีระยะเวลาให้คุณนำสินค้าไปจำหน่ายหมุนเงินเข้าระบบธุรกิจได้ถึง 30 วันหรืออาจจะมากกว่านั้นขึ้นอยู่กับประเภทบัตรที่คุณถือ สิ่งสำคัญคือต้องจ่ายเงินให้เต็มยอดที่ใช้ไปจึงจะปลอดดอกเบี้ย
  • สถาบันการเงิน – ในกรณีที่คุณจำเป็นต้องใช้เงินทุนหมุนเวียนเป็นจำนวนมาก ธนาคารหรือบริษัทที่ให้บริการทางการเงิน จึงเป็นที่พึ่งพิงยอดนิยมของนักธุรกิจเพราะเงื่อนไขการคิดดอกเบี้ยค่อนข้างเป็นธรรม แต่การอนุมัติจะเข้มงวดสักหน่อย ถ้าธุรกิจของคุณมีเครดิตดีและตัวคุณเองไม่เคยติดบูโร การอนุมัติก็มีโอกาสสูง
  • ลีสซิ่ง (Leasing) – เมื่อคุณต้องการเครื่องมือมาสนับสนุนธุรกิจโดยไม่ต้องการนำเงินทุนหมุนเวียนในระบบไปจ่ายเป็นก้อนใหญ่ การเช่าซื้อ หรือลีสซิ่ง เป็นทางเลือกที่คุ้มค่า และค่าเช่าซื้อรายเดือนยังสามารถนำไปหักเป็นค่าใช้จ่ายรายเดือนได้ด้วย แต่ข้อควรระวังคือ เมื่อยกเลิกสัญญาเช่าก่อนกำหนดจะมีค่าปรับ และเมื่อครบกำหนดที่ต้องซื้อแต่คุณไม่ซื้อ ก็จะต้องจ่ายค่าเสื่อมราคาเครื่องมือนั้น ๆ 
  • บริษัทร่วมทุน และนักลงทุน – เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่กำลังเป็นที่นิยมมากในปัจจุบันสำหรับ Startup หากแผนธุรกิจของคุณผ่านการพิจารณาจากนักลงทุนเหล่านี้ พวกเค้ายินดีจะหยิบยื่นเงินก้อนใหญ่ให้คุณไปใช้สร้างฝันให้เป็นจริงได้เลย แต่อาจจะต้องระวังเรื่องอำนาจการดูแลกิจการเพราะบุคคลเหล่านี้อาจเข้ามาควบคุมกิจการของคุณและเร่งรัดเวลาเพื่อรีบทำกำไร
  • เงินกู้นอกระบบ – ขอให้เป็นทางเลือกสุดท้ายจริง ๆ เพราะถึงแม้ว่าขั้นตอนการกู้ยืมนั้นง่ายกว่าผ่านสถาบันการเงิน แต่คุณต้องแลกมาด้วยอัตราดอกเบี้ยที่สูงมาก (นอกระบบหรือไม่ปฏิบัติเป็นไปตามกฎหมาย) จึงไม่แนะนำการกู้ยืมเงินทุนประเภทนี้หากไม่มีความจำเป็นจริง ๆ

การคำนวณหาความต้องการเงินทุนหมุนเวียน (อย่างง่าย)

ก่อนที่จะสรุปว่าต้องใช้เงินทุนหมุนเวียนเท่าไหร่ มาดูกันก่อนว่าปกติแล้วธนาคารใช้สูตรคิดเงินทุนหมุนเวียนให้เจ้าของกิจการกู้ยืมอย่างไร

เงินทุนหมุนเวียน = ลูกหนี้การค้า + (สต๊อกสินค้า/วัตถุดิบ/งานระหว่างทำ) – เจ้าหนี้การค้า

  • ลูกค้าหนี้การค้า – คือ ลูกหนี้ของกิจการซึ่งถือเป็นสินทรัพย์ของกิจการอย่างหนึ่ง หากมีลูกหนี้มาก เงินสดในมือจะน้อย กิจการนั้นก็จะมีสภาพคล่องไม่ดี จึงต้องการสินเชื่อมาใช้หมุนเวียนมากเป็นพิเศษ
  • สต๊อกสินค้า/วัตถุดิบ/งานระหว่างทำ – สต๊อก แบ่งออกเป็น วัตถุดิบ และสินค้าสำเร็จรูป ส่วนงานระหว่างทำ เป็นการหามูลค่าของต้นทุนจากการใช้วัตถุดิบและสต๊อกที่ผ่านการแปรรูปเป็นสินค้ารอจำหน่าย
  • เจ้าหนี้การค้า – กิจการที่มีเจ้าหนี้การค้า แสดงว่าเงินที่ได้จากการค้าส่วนหนึ่งจะต้องตัดออกเป็นค่างวดที่ต้องจ่ายคืน

ตัวอย่างการคำนวณอย่างง่าย

ในแต่ละวัน ร้านขายเบเกอรี่ต้องมีสต๊อกวัตถุดิบ และงานระหว่างทำเป็นรายวัน หากกิจการมียอดขายวันละ 5,000 บาท และมีต้นทุนวัตถุดิบประมาณ 2,500 บาท ซึ่งเป็นมูลค่าของงานระหว่างทำที่รอการขายเป็นรายได้ ก็เท่ากับว่ากิจการมีต้นทุนร้อยละ 50 ของยอดขาย กิจการนี้ไม่มีลูกหนี้การค้า แต่มีเจ้าหนี้ต้องส่งค่างวดวันละ 100 บาท ดังนั้นการคำนวณหาเงินทุนหมุนเวียนจะเป็นดังนี้

  • ลูกหนี้การค้า = 0 บาทต่อวัน
  • สต๊อก/วัตถุดิบ/งานระหว่างทำ = 2,500 บาทต่อวัน
  • เจ้าหนี้การค้า = 100 บาทต่อวัน
  • เงินทุนหมุนเวียน = 0 + (2,500) – 100

สรุปเงินทุนหมุนเวียนที่กิจการต้องใช้ในแต่ละวันอย่างน้อยคือ 2,400 บาท (ธนาคารจะไม่นำส่วนที่เป็นหนี้สินของลูกค้ามาคำนวณเพราะไม่จัดอยู่ในกลุ่มประเภทสินทรัพย์)

โดยสรุป การหาแหล่งเงินทุนหมุนเวียนนั้นเป็นงานสำคัญอย่างหนึ่งของทุก ๆ กิจการ สังเกตว่ากิจการขนาดใหญ่จะมีฝ่าย Financial Controller คอยทำหน้าที่ดูแลการใช้จ่ายเงินในระบบ และจัดหาแหล่งสินเชื่อหมุนเวียนเข้ามาสนับสนุนระบบ ดังนั้น การวางแผนเรื่องเงินทุนหมุนเวียนที่ดี ย่อมส่งผลต่อความอยู่รอดของกิจการ สำหรับกิจการขนาดเล็กนั้น แหล่งเงินทุนหมุนเวียนที่ดีที่สุดก็คือ บัตรกดเงินสด สามารถกดเงินมาเสริมสภาพคล่องเมื่อไหร่ก็ได้ ทั้งนี้ การมีวินัยทางการเงินก็ยังคงเป็นเรื่องสำคัญที่เจ้าของกิจการน้อยใหญ่ต้องพึงปฏิบัติอย่างเข้มงวดเสมอ

เรียบเรียงข้อมูลจาก: www.smebank.co.th | www.incquity.com

ย้อนกลับ